บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จับมือ ทีซี รีนิวอะเบิ้ล เอ็นเนอร์ยี่ ทุ่ม 50 ล้านบาท ตั้งบริษัท “ศักดิ์สยาม ทีซี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด” ลุยธุรกิจติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ผ่อนนาน 8 ปี ตั้งเป้าปีแรกปล่อยสินเชื่อ 1 พันล้านบาท ขอแบ่งแชร์ 1% ของตลาด คาด 3 ปี โกยยอด 2 หมื่นล้านบาท
วันที่ 5 มกราคม 2565 นายศิวพงศ์ บุญสาลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SAK เปิดเผยว่า เพื่อเป็นต่อยอดธุรกิจและเพื่อหารายได้เพิ่มเติม ล่าสุด บริษัทได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมทุนกับ บริษัท ทีซี รีนิวอะเบิ้ล เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์รูฟท็อป ในการจัดตั้งบริษัท ศักดิ์สยาม ทีซี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท โดย SAK ถือหุ้น 35% และบริษัท ทีซี รีนิวอะเบิ้ล เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ถือหุ้น 65% คาดว่าจะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายในม.ค. 2566 และสามารถดำเนินธุรกิจได้ภายในไตรมาสที่ 1/2566 ได้ทันที
หุ้น DELTA บริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในไทย เป็นของใคร ทำธุรกิจอะไรบ้าง ?
ประวัติ “ไฮโซพก” ประธานวงศ์ พรประภา แฟน “อั้ม-พัชราภา”
สีเสื้อมงคล 2566/2023 วันอะไรใส่สีไหน ดวงปัง เงินเข้าไม่หยุด
ทั้งนี้ บริษัทร่วมทุนดังกล่าวให้บริการสินเชื่อเพื่อการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปสำหรับที่อยู่อาศัย สนับสนุนภาคประชาชนเข้าถึงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าครองชีพจากแนวโน้มค่าไฟที่สูงขึ้น โดยการปล่อยสินเชื่อผ่านสาขาของศักดิ์สยามลีสซิ่งที่มีมากกว่า 1,029 สาขา ครอบคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และตะวันออกเฉียงเหนือ และพนักงานกว่า 2,000 คน ในการให้บริการ จะผลักดันให้พอร์ตสินเชื่อของศักดิ์สยามลิสซิ่งมีความหลากหลายและตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
โดยเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจศักดิ์สยาม ทีซีนั้น คาดว่าจากจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้ารวม 22 ล้านราย เป็นองค์กรธุรกิจ 7-8 ล้านราย ที่เหลือ 15 รายเป็นภาคครัวเรือน ตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) แค่ 1% จากครัวเรือน ทั้งนี้ เบื้องต้นตั้งเป้าหมายปล่อยกู้ไม่น้อยกว่า 100,000 ครัวเรือน จากมูลค่าการติดตั้งต่อครัวเรือนเฉลี่ย 200,000 บาท หรือคิดเป็นสินเชื่อรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท และภายใน 3 ปี ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ 2 หมื่นล้านบาท มีระยะเวลาในการผ่อนชำระนานถึง 8 ปี
“เรามองว่าจะทำให้วงเงินที่ผ่อนในแต่ละเดือนใกล้เคียงกับภาระค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ทำให้ไม่สร้างภาระให้กับผู้กู้มากจนเกินไป โดยเราจะประเมินลูกค้าจากบิลค่าไฟ และการชำระค่าไฟว่ามีการชำระสม่ำเสมอหรือไม่ แต่เชื่อว่าความเสี่ยงลูกค้าจะไม่เป็นอุปสรรค โดยเราจะมีการใช้เครือข่ายสาขาช่วยหาลูกค้า และลงพื้นที่สำรวจบ้านเรือนที่ต้องการติดตั้ง และขออนุมัติจากการไฟฟ้าในการติดตั้ง”
ทั้งนี้ มองว่าการร่วมทุนครั้งนี้เป็นการร่วมทุนกับพันธมิตรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญการออกแบบและติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปมากว่า 10 ปี ให้กับภาคธุรกิจ โรงงาน สถานศึกษา มากกว่า 230 โครงการ หรือมากกว่า 14 เมกกะวัตต์ ทำให้เกิดการ Synergy นำจุดแข็งของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนได้ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ที่มีคุณภาพและมาตรฐานในราคาที่เข้าถึงได้
ซึ่งการร่วมทุนครั้งนี้เราไม่ได้หวังผลด้านรายได้เป็นหลักเพียงอย่างเดียว แต่ยังหวังที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าภาคครัวเรือนในระยะยาว ตลอดจนลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานให้กับโลกอีกด้วย
สำหรับแผนธุรกิจในปี 2566 บริษัทตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่อยู่ที่ 2,500 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 20-25% มียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 13,500 ล้านบาท โดยพอร์ตสินเชื่อประมาณ 80% จะเป็นธุรกิจจำนำทะเบียนรถ และประมาณ 15% จะเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน และที่เหลืออีก 5% จะเป็นธุรกิจเช่าซื้อจักรยานยนต์ใหม่ ซึ่งฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเกษตรกรและลูกค้าภูธรเป็นหลัก และตั้งเป้าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไม่ควรเกิน 2.5%